การป้องกัน การตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

สมัยนี้เงินทองหายาก กว่าจะได้มาเหนื่อยทั้งกาย และเหนื่อยใจไปไม่รู้ตั้งเท่าใหร่ จะมาเสียเงินให้มิจฉาชีพฟรีๆ แบบนี้คงไม่ได้ เพราะฉะนั้น สำนักคอมพิวเตอร์ฯ จึงอยากแนะนำวิธีที่จะทำให้เราไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพทางไซเบอร์

 

ปัญหาหลักของหลายคนคือ ไม่รู้ว่า ลิงค์ หมายถึงอะไร อธิบายง่ายๆ ลิงค์คือ ข้อความอะไรก็ตามที่สามารถกด แล้วพาเราไปยังหน้าอื่นที่ไม่ใช่หน้าเดิมที่ใช้งานอยู่หรือกดแล้วเกิดการติดตั้งแอปพลิเคชันบางอย่างจุดสังเกตของลิงค์คือ ข้อความนั้นจะ “ถูกขีดเส้นใต้” และที่สำคัญคือ อ่านให้ดีว่าลิงค์ที่แนบมาคือลิงค์อะไร และลิงค์นี้มาจากที่ไหน เชื่อถือได้หรือไม่  ถ้าไม่มั่นใจ อย่ากด โดยเด็ดขาด

 

อย่าเข้าเว็บที่ไม่รู้ หรือเว็บเถื่อน เว็บการพนัน เพราะอาจมีมิจฉาชีพที่แฝงตัวมาหลอกลวง โดยการเข้าถึงเราผ่านช่องทางเว็บเหล่านี้ อาจตีสนิทหลอกลวงให้หลงเชื่อเพื่อขอข้อมูลส่วนตัวต่างๆ หรือหลอกลวง ชักจูงให้ร่วมลงทุนแล้วหนีหาย ทำให้สูญเสียเงินเป็นจำนวนมากได้

 

อ่านทุกอย่างให้ละเอียด ก่อนจะกดอนุญาต หากมีข้อความขึ้นมาให้เรากดอนุญาต เราควรอ่านข้อความหรือข้อมูลที่ส่งมาอย่างละเอียด ก่อนที่จะกดอนุญาตใดๆ ก็ตามเนื่องจากมิจฉาชีพมักจะหลอกให้เหยื่อกดอนุญาตเพื่อที่จะทำการล้วงข้อมูลภายในสมาร์ทโฟน  โดยลักษณะการขออนุญาตเข้าถึงสมาร์ทโฟนแบบ Remote Access หรือที่เรียกว่า “การควบคุมทางไกล” ซึ่งข้อความที่ขึ้นให้เราเห็นผ่านหน้าแอปปลอมจะเป็นข้อความทั่วๆ ไป จนเราไม่ทันสังเกตุ นั่นคือการขอเข้าถึงทางไกลนั่นเอง

 

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อยมิจฉาชีพ

ติดตั้งแอปพลิเคชันจาก Play Store หรือ App Store เท่านั้น เพื่อความปลอดภัยเราควรจะดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน จาก Play Store หรือ App Store เท่านั้น ห้ามดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ไม่มีการรับรองความปลอดภัย หรือแหล่งข้อมูลที่เราไม่มั่นใจ เพราะการติดตั้งแอปใดๆ ที่ไม่รู้จัก มักนำพามิจฉาชีพเข้าสู่ระบบสมาร์ทโฟนของเราด้วยเช่นกัน

 

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อยมิจฉาชีพ

ควรอัปเดตซอฟต์แวร์เครื่องอยู่เสมอ ผู้พัฒนาส่วนใหญ่จะมีการอัปเดตเฟิร์มแวร์ให้กับสมาร์ทโฟนเป็นประจำ เพื่อปิดช่องโหว่ที่เหล่ามิจฉาชีพจะเข้าถึงได้โดยปรับปรุงให้การใช้งานนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ดังนั้นเราควรจะมีการอัปเดตซอฟต์แวร์เครื่องอย่างสม่ำเสมอ หรือทุกครั้งที่ผู้พัฒนาเปิดให้มีการอัปเดต

 

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อยมิจฉาชีพ

อย่าให้หรือกรอกข้อมูลส่วนตัวใดๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ที่ไม่รู้จักหรือไม่รู้ที่มา ควรเข้าเว็บด้วยความระมัดระวัง และที่สำคัญจะต้อง “อ่านชื่อเว็บตรงช่อง URL ให้ดี” เพราะเว็บหลอกลวง หรือเว็บที่ต้องการล้วงข้อมูลของเรา มักจะตั้งชื่อของเว็บให้มีความคล้าย หรือใกล้เคียงกับเว็บจริง โดยเฉพาะเว็บของธนาคารมักจะได้ยินข่าวว่า มีการตั้งชื่อให้ใกล้เคียงกับเว็บของธนาคารจริง เพื่อที่จะหลอกลวงให้เหยื่อเข้าไปกรอกข้อมูลส่วนตัว จากนั้นก็นำข้อมูลที่ได้ไปถอนเงินจากธนาคารทำให้สูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก

 

การป้องกันการตกเป็นเหยื่อยมิจฉาชีพ

ติดตามข่าวสารอยู่เสมอ ควรติดตามข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งทางสื่อออนไลน์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือทางสื่ออื่นๆ เพื่อจะได้รู้เท่าทันกลโกงของมิจฉาชีพ ที่มาในรูปแบบต่างๆ หากเรารู้เท่าทันแล้ว เราจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพเหล่านั้น

แหล่งที่มา
www.thansettakig.com
www.scb.co.th/th
www.prinya.org
www.droidsans.com

Loading